ทวีปแอฟริกาเดิมทีพวกเค้ามีการอาศัยอยู่กับแบบเป็นชนเผ่ามากกว่าจะเป็นเมืองแบบสมัยนี้ แม้ว่าปัจจุบันจะยังมีบางส่วนของประเทศที่ดำรงชีพแบบชนเผ่าอยู่ก็ตามที ชนเผ่าในทวีปแอฟริกานั้นบางเผ่าอาจจะสูญหายไป แต่บางเผ่าก็ยังอยู่เนื่องจากสามารถปรับตัวให้เข้ากับโลกปัจจุบันได้อย่างน่าชื่นชม ชนเผ่าหนึ่งที่เราเคยได้ยินมาตลอดโดยเฉพาะตอนเรียนวิชาลูกเสือนั่นก็คือ ชนเผ่าซูลู พวกเค้าเป็นใครกัน ชนเผ่าซูลู ก็เหมือนกับชนเผ่าอื่นที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกา พวกเค้ามีเอกลักษณ์ ทางด้านวัฒนธรรมของตัวเองหากจะนับตามประวัติศาสตร์เรื่องราวของพวกเค้ากลายเป็นที่สนใจช่วงศตวรรษที่ 19 ตอนนั้นพวกเค้ากลายเป็นชนเผ่าที่มีความแข็งแกร่งมากที่สุด นักรบของพวกเค้ามีความเก่งกล้าสามารถอย่างมาก แต่พวกเค้าเจอเรื่องสำคัญก็คือการรุกรานเพื่อล่าอาณานิคมจากฝั่งยุโรป ชนเผ่าซูลูต้องต่อสู้กับคู่ต่อสู้ชื่อว่า อังกฤษ แน่นอนว่าการทำสงครามครั้งนั้นอังกฤษแม้ว่าจะมีอาวุธยุทโธปกรณ์มากกว่า แต่ความชำนาญพื้นที่น้อยกว่าทำให้กว่าจะรบเอาชนะได้ อังกฤษก็เหนื่อยเหมือนกัน กว่าจะเอาชนะได้ในที่สุดเมื่อปี 1879
ชนเผ่าซูลกับวิชาลูกเสือ
คำถามก็คือ ชนเผ่าซูลู กับวิชาลูกเสือเกี่ยวข้องกันอย่างไร เราอาจจะเคยเห็นการเต้นซูลูช่วงเล่นรอบกองไฟเวลาไปเข้าค่ายลูกเสือ สองเรื่องนี้เกี่ยวกันได้อย่างไร เราต้องเล่าย้อนไปถึงยุคที่อังกฤษกำลังต่อสู้กับชนเผ่าซูลู ตอนนั้น ร้อยเอก เบเดน เพาเวลล์(หรือ B.P. ผู้ให้กำเนิดวิชาลูกเสือ) ตอนนั้นได้เขาร่วมรบด้วยภารกิจก็คือ การจับตัว ดินิซูลู หัวหน้าเผ่าอูซูตู หนึ่งในเผ่าของซูลู ซึ่งหัวหน้าทหารหลายนายพยายามที่จะจับเค้าให้ได้แต่ก็ไม่สำเร็จสักที การมาของ เบเดน เพาเวลล์ จึงต้องเปลี่ยนกลยุทธใหม่จากวิธีทางทหาร เค้าเลือกวิธีทางการทูตแทน การเจรจามีขึ้นระหว่างทั้งสองคน ทำให้ทางอังกฤษสามารถจับตัวดินิส ซูลู ได้ในที่สุด ระหว่างการเจรจาครั้งนั้นได้มีเรื่องหนึ่งที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์จนถึงทุกวันนี้ก็คือ ตอนที่ บีพี จะจับมือกับดินิส เค้ายื่นมือขวาออกไปจับมือ ปรากฏว่า ดินิสไม่ยอมจับด้วยอ้างว่ามือขวาเป็นมือสกปรกที่ฆ่าคนมาเยอะ ขอให้จับมือด้วยมือซ้ายแทน เค้าบอกว่ามือซ้ายสะอาดกว่า ใกล้หัวใจมากกว่าด้วย นี่จึงเป็นที่มาของการจับมือกันด้วยมือขวาด้วย
ปัจจุบันชนเผ่าซูลู ยังคงมีอยู่ในทวีปแอฟริกา พวกเค้ายังรักษาธรรมเนียมปฏิบัติไว้ได้เป็นอย่างดี แม้ว่าโลกจะก้าวหน้าไปเพียงใดแล้วก็ตาม