มารู้จักกับ อิมพาล่า (Impala) แอฟริกา

อิมพาล่า เป็นละมั่งขนาดกลางที่พบในแอฟริกาตะวันออกและใต้ ถูกพบครั้งแรกโดยนักสัตว์วิทยาชาวเยอรมัน Hinrich Lichtenstein ในปี 1812 ปัจจุบันนี้มีสองสายพันธุ์ได้รับการยอมรับโดยทั่วกัน ได้แก่ Impala กับ Black-faced impala มีขนาดตัวยาว 28 – 36 นิ้ว หรือประมาณ 70 – 92 เซนติเมตร สูงระดับไหล่และน้ำหนักประมาณ 40 – 76 กิโลกรัม ปกคลุมด้วยหนังสีน้ำตาล ตัวผู้จะมีรูปร่างที่ผอมเพรียว มีเขาเรียวยาวขนาด 45 – 92 เซนติเมตร โดยปกติแล้วจะออกหากินในช่วงตอนกลางวัน อิมพาล่าเป็นสัตว์ที่ชอบอยู่อาศัยเป็นกลุ่ม ขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและภูมิศาสตร์ของประเทศ อิมพาล่าเป็นที่รู้จักกันดีในสองลักษณะที่โดดเด่น ได้แก่ การกระโดด และ กลยุทธ์ที่ใช้ในการต่อต้านนักล่า

อาหารที่อิมพาล่ากินคือพวกพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ใบเลี้ยงคู่ หรือผลไม้ต่างๆ มีช่วงเวลาติดสัดนนาน 3 สัปดาห์ มักเริ่มในช่วงปลายฤดูฝน โดยตัวผู้จะต้องทำการสู้กับตัวอื่นเพื่อหาผู้ชนะ ตัวใดที่ชนะจะได้ครอบครองตัวเมียเพื่อผสมพันธุ์ โดยการตั้งครรภ์เป็นเวลา 6 ถึง 7 เดือน เมื่อลูกคลอดออกมาแล้วจะถูกพาไปซ่อนในที่กำบังในทันที ลูกอิมพาล่าจะดูดนมแม่ประมาณ 4 – 6 เดือน ก่อนที่จะถูกไล่ออกไปอยู่กับกลุ่มตัวเมีย ในขณะที่ตัวเมียอาจกลับเข้ามาในฝูงได้เหมือนเดิม

โดยปกติแล้วเราสามารถพบเห็นอิมพาล่าได้ในป่า หรือทุ่งหญ้าสะวันนา ซึ่งมักอาศัยอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำ ในขณะที่อิมพาลาหน้าดำถูกมักจะไม่ออกจากถิ่นฐานของตัวเองในแองโกลาตะวันตกเฉียงใต้ และเกาโคแลนด์ในนามิเบียตะวันตกเฉียงเหนือ อิมพาลาทั่วไปมักพบได้อย่างแพร่หลายในกาบอง แอฟริกาตอนใต้ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) จัดประเภทของอาฟริกาว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีความกังวลน้อยที่สุด สายพันธุ์ดำที่ได้รับการจำแนกว่าเป็นสายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงมีน้อยกว่า 1,000 ตัว ที่เหลืออยู่ในป่า ณ ปี 2008

Impala-

พฤติกรรมของอิมพาล่า

อิมพาล่าเป็นสัตว์หากินตอนกลางวัน แม้ว่ากิจกรรมมีแนวโน้มที่จะหยุดในช่วงเที่ยงวันเพราะมีอากาศที่ร้อนจัด พวกมันจะกลับมาพักผ่อนในตอนกลางคืน มีสังคมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ฝูงเจ่าถิ่น ฝูงตัวผู้ และฝูงตัวเมีย โดยฝูงเจ้าถิ่นจะอยู่ในเฉพาะเขตของตัวเอง ซึ่งจะมีลักษณะเป็นแบบฮาเร็มคือมีตัวเมียจำนวนมาก ในขณะที่มีตัวผู้ไม่กี่ตัว โดยพวกมันจะทำเครื่องหมายอาณาเขตด้วยปัสสาวะและอุจจาระ เพื่อป้องกันไม่ให้อิมพาล่าตัวอื่นเข้ามาในอาณาเขตของตนเอง ฝูงตัวผู้จะมีขนาดเล็กประมาณ 30 ตัว มักอาศัยอยู่ห่างกระประมาณ 2 – 3 เมตร ในขณะที่มักอยู่ติดกันกับตัวที่แก่กว่า

สำหรับตัวกลาวัวจะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับตัวอื่น ยกเว้นว่าจะอยู่ในช่วงการประลอง สำหรับฝูงตัวเมียจะมีขนาดตั้งแต่ 6 ถึง 100 ตัว มีพื้นที่ขนาด 80 – 180 เอเคอร์ หรือประมาณ 0.31 – 0.69 ตารางไมล์ พันธะระหว่างความเป็นแม่ลูกของอิมพาล่าค่อนข้างบอบบาง เพราะหลังจากที่ลูกหย่านมแล้ว พวกมันจะออกจากฝูงแม่เพื่อไปเข้าร่วมฝูงอื่น โดยฝูงตัวเมียถูกมองว่าเป็นกลุ่มที่อ่อนแอ เพราะไม่มีผู้นำอย่างชัดเจน นอกจากนี้การทำกรูมมิ่งยังถือเป็นเรื่องที่สำคัญมากในสังคมของอิมพาล่า พวกมันจะคอยทำความสะอาดร่างกายให้กันด้วย โดยตัวเมียจะทำให้เฉพาะกับตัวที่มีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกัน ในขณะที่ตัวผู้อาจทำให้ตัวไหนก็ได้ตามที่มันชอบ โดยในแต่ละคู่จะทำความสะอาดให้กัน 6 – 12 ครั้ง ต่อวันเลยทีเดียว ถือเป็นกิจวัตรประจำวันที่พวกมันทำกันอย่างไม่ขาดสาย